บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 13:30 - 17:30 น.
บรรยากาศ + เนื้อหา+กิจกรรม
การเรียนการสอนในวันนี้จะเป็นเนื้อหาสำหรับการใช้บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 ผู้สอนในรายวิชานี้คือ อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน (อ.เบียร์) ในวิชานี้จะมีในสะสมคะแนนให้นักศึกษาคนละหนึ่งใบ ใบสะสมคะแนนนี้นักศึกษาทุกคนจะต้องนำใบสะสมคะแนนนี้มาทุกๆครั้ง เพื่อมาปั้มก่อนที่จะเข้าเรียน โดยอาจารย์จะเตรียมตัวปั้มพร้อมหมึกเอาไว้ให้เพลงนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการสอนเด็กปฐมวัย เพราะเพลงนั้นจะเป็นสิ่งที่จูงใจเด็กให้เข้ามาในบทเรียน และในตอนนี้ก็เข้าสู่อาเซียนแล้ว ภาษาที่จะใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารนั้นก็คือภาษาอังกฤษ อาจารย์นั้นได้เห็นความสำคัญในข้อนี้จึงได้ให้นักศึกษาฝึกร้องเพลงภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยโดยแจกเนื้อเพลงให้นักศึกษาคนละ1 แผ่น เผื่อว่าในอานาคตนักศึกษานั้นจะได้มีความรู้พื้นฐานและนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ได้
เนื้อหา
การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย- ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัฒกรรม จินตนาการ สามารถคิดนอกกรอบ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นกระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิด หลายอย่างมารวมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ใหดีขึ้น และ ต้องมีอิสรภาพทางความคิด
- คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ คุณค่าต่อสังคม / คุณค่าต่อตนเอง / ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์ / มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง / นามาซึ่งความเป็นผู้นำ / ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง / ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ / สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี / พัฒนากล้ามเนื้อ / เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าได้ทดลองและประสบความสำเร็จ
- องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น4ด้าน คือ
- ความคิดคล่องแคล่ว >> ด้านถ้อยคำ ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ด้านการแสดงออก ด้านการคิด
- ความคิดริเริ่ม >> ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดาหรือแตกต่างจากบุคคลอื่นๆ
- ความคิดยืดหยุ่น >> ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง
- ความคิดละเอียดละออ >> ความคิดที่เกียวกับราละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์
- การพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ Torrance ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะแรกเกิด - 2 ขวบ >> มีจินตนาการ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
- ระยะ 2 - 4 ขวบ >> ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง มีความสนใจในช่วงสั้นๆ
- ระยะ4 - 6 ขวบ >> สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมุติ เชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ แต่ยังเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก
- ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ Torrance แบ่งออกเป็น 5 ขั้น
- ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
- ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
- ประดิษสิ่งใหม่โดยไม่ซ้ำใคร
- ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3
- ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ
- ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
- ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
- อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
- ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ไขปัญหาได้ดี
- ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
- ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
- แนวคิดและทฤษฎี
Guilford ได้อธิบายความสามารของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ คือ
- มิติที่1 เนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด) >> ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม
- มิติที่2 วิธีคิด (กระบวนการการทำงานของสมอง) >> การรูและเข้าใจ การจำ การคิดแบบอเนกนัย การคิดแบบเอกนัย การประเมิน
- มิติที่ 3 ผลของการคิด (การตอบสนองข้อมูลหรือสิ่งเร้า) >> หน่วย ระบบ จำพวก ความสัมพันธ์ การแปลงรูป การประยุกต์
Constructivism
- เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
- เด็กคิดได้เอง
- ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
- สร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง
Torrance ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐาาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ การพบความจริง การค้นพบปัญหา การตั้งสมมติฐาน การค้นพบคำตอบ ยอมรับผล
- บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสรา้งสรรค์
- เด็กรู้สึกปลอดภัย
- ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
- ให้เด็กได้สำรวจค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
- ขจัดอุปสรรค
- ไม่มีการแข่งขัน ให้ความสนใจเด็ก
- ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
- มีไหวพริบ
- กล้าแสดงออก
- อยากรู้อยากเห็น
- ช่างสังเกต
- อารามณ์ดีขบขัน
- มีสมาธิ
- รักในอิสระ
- มีความมั่นใจในตนเอง
- อ่อนไหว
- ไม่ชอบโดนบังคับ
- ชอบเหม่อลอย
- ซาบซึ้งกับสุนทรียภาพ
- มีความวิจิตรพิสดาร
- ชอบสร้างแล้วรื้อสร้างแล้วรื้อใหม่
- ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
***ลองดูลักษณะ 15 ข้อนี้ ดูว่าเรานั้นมีความคิดสร้างสรรค์มากน้อยแค่ไหน***
- กิจกรรมที่ส่งเสริ่มความคิดสร้างสรรค์ 3 ลักษณะ ดังนี้
- ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง
- การสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา แล้วนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
- การใช้คำถามของเด็ก
- คำถาม
- คำถามที่ส่งเสริมด้านความคิดคล่องแคล่ว นั้นจะต้องคิดให้ไวและให้ได้มากที่สุด
- คำถามที่ส่งเสริมความคิดริเริ่ม ต้องเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคิดหรือทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดหรือทำมาก่อน
- คำถามที่ส่งเสริมความคิดยืดหยุ่น คือสามารถตอบได้หลากหลายคำตอบ
- คำถามที่ส่งเสริมความคิดละเอียดละออ คิแสามารถให้รายละเอียดปลีกย่อยได้
- แนวทางการส่งเสริมความคิดของเด็ก
- ส่งเสริมให้เด็กได้ถาม
- เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
- ยอมรับในคำถามของเด็ก
- ชี้แนะให้เด็กนั้นหาคำตอบได้ด้วยตนเอง
- ทำให้เด็กเห็วว่าความคิดของเด็กนั้นมีคุณค่า
- เปิดโอกาศให้เด็กได้เรียนรู้อยู่เสมอ
- ค่อยเป็นค่อยไป
- ยกย่องชมเชย
- ไม่มีการวัดผล
- การตั้งคำถาม 5W1H
- Who = ใคร
- What = อะไร
- Where = ที่ไหน
- When = เมื่อไหร่
- Why = ทำไม
- How = อย่างไร
ความสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้
แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้
ภาพกิจกรรม
ใบสะสมคะแนนน่ารักๆ และใบเนื้อเพลง Eng
อาจารย์สอนร้องเพลง กว่าจะร้องได้คีย์เดียวกันทั้งห้องเล่นเอาอาจารย์เหนื่อยเลยที่เดียว
(หนูขอโทษนะคะอาจารย์ ToT)
กิจกรรมลากจุดจุด...
โดย กติกา คือ ให้เราลากจุดทุกจุดให้เชื่อต่อกันให้เป็นรูป สี่เหลี่ยมจตุรัต โดยลากได้ 4 ครั้งและห้ามยกปากกาเด็ดขาด กว่าจะได้ก็เหนื่อยเลยที่เดียว ลองเอาไปทำกันดูนะจร๊ะ
เห็นเป็นรูปอะไรน๊าาาาา ^^
อะไรอยู่หลังรูป 4เหลี่ยมกันน๊าาาา ?
อ๋อ... ร่มแมวน้อยนี่เอง
เรามาสร้างเครื่องบินจากกระดาษกันเถอะ !!
นี่คือเครื่องบินกระดาษของฉัน เท่ปะล่ะ ^0^
(ยืดออกด้วยความภูมิใจจ)
มีเครื่องบินกันแล้วเรามาปะลองความแม่นกันดีกว่า
กติกา คือ
ให้นักศึกษายืนด้านหลังฝากล่องที่อยู่ทางซ้ายมือ จากนั้นให้นักศึกษาร่อนเครื่องบินให้ลงในกล่องที่อยู่ทางขวามือ ให้โอกาศร่อนได้คนละ 2 ครั้ง
เอา! เริ่มกันเลยดีกว่า
เกมจิตวิทยา เกมนี้จะออกแนว 18 + โดยเกมจะมีเหตุการให้เรานั้นบอกความรู้สึกในขณะนั้นและเราจะแก้ไขปัญหาแบบไหน เกมนี้จะบอกว่าเรานั้นเป็นคนแบบใด (ปล. อาจจะตรงหรือไม่ตรงกับเราก็ได้)
เล่นกันสนุกขำๆ ลองไปหาเล่นกันดูนะฮ๊า
^[+++]^
(เกมนี้สร้างความฮือฮามาก เพราะแต่ละคนจิตนาการเหลือล้นกันจีจี)
อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 2 คน แจกกระดาษกลุ่มละ 1 แผ่น
ให้นักศึกศาในกลุ่มเลือกสี คนละหนึ่งสีตามที่ชอบ
จากนั้นอาจารย์เปิดเพลงให้ฟังให้เราลากเส้นตามเสียงเพลง
จากนั้นให้เราดูว่าเส้นที่เราลากนั้นเราเห็นเป็นรูปอะไร จากนั้นให้นำสีที่ต่างมาเน้นในสิ่งที่เรานั้นเห็น
นำภาพของแต่ละกลุ่มมาวางรวมกันและให้แต่ละกลุ่มอธิบายภาพของตนเอง
(รูปของหนูเป็นรูปปะการังไฟ มีปลาว่ายน้ำอยู่รอบๆ)
เกร็ดความรู้
เด็กปฐมวัยนั้นไม่ควรจำกัดเพศ ของเล่นที่จำกัดเพศชักเจนไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล เช่น บาบี้ หุ่นยนต์ เป็นต้น เพราะจะทำให้เด็กนั้นไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์
ของเล่นที่เหมาะกับเด็กปฐมวัยคือ บล็อก หุ่นมือ แป้งโด เป็นต้น เป็นของเล่นที่เล่นได้ทั้งหญิงและชาย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- วิธีการเลือกของเล่นให้กับเด็กปฐมวัย ควรเลือกที่สามารถเล่นได้ทุกเพศ และสามารถเล่นได้หลากหลาย
- การใช้เพลงในการนำเด็กเข้าสู่บทเรียน ที่จะสอน
- การจัดกิจกรรมแบบเปิดให้เด็กได้ลงมือทำแต่อย่าไปขีดกรอบบังคับว่างให้ทำแบบนี้ในแบบตามที่กำหนด แต่แค่ตั้งกติกาหรือเงื่อนไขก็พอ
- การใช้คำถามในการกระตุ้นให้เด็กนั้นได้เกิดความคิด
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
รู้สึกมีความสุขกับการเรียน ตั้งใจในการทำกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
เพื่อนน่ารักมีความเฮฮาทำให้บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน เพื่อนตั้งใจในการเรียนแลัทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็ฯอย่างดี มีกิจกรรมสนุกๆให้ทำตลอดคาบเรียนทำให้การเรียนนั้นไม่เครียดและน่าเบื่อ มีความเป็นกันเอง อาจารย์สอนและให้ควมรู้อย่างเต็มที่ อาจารย์นั๊ลล๊ากกกก ^3^